วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง ระบบจัดการแผนงานออนไลน์


ตัวอย่างโครงงานเรื่อง ระบบจัดการแผนงานออนไลน์

ความเป็นมาของโครงงาน
      จากการเรียนวิชาการสร้างผลงานด้านคอมพิวเตอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการสร้างและนำเสนอผลงานด้านคอมพิวเตอร์โดยให้นักเรียนคำนึงถึงการนำความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม ทางกลุ่มสนใจในการสร้างสรรค์งานพัฒนาโปรแกรม จึงสอบถามข้อมูลปัญหาและความต้องการจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายงาน ทางกลุ่มจึงได้เสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทพัฒนาโปรแกรมเรื่อง ระบบจัดการแผนงานออนไลน์
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมระบบจัดการแผนงานออนไลน์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
2.เพื่อปรับปรุงให้มีความสอดคล้อง ตรงตามเป้าหมายของผู้ใช้งาน 

ขอบเขตของการดำเนินการ
 การใช้งานของระบบจัดการแผนงานออนไลน์ของกลุ่มงานนโยบายและแผนงานโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

1) โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

2) โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน

3) โครงงานพัฒนาเกม

4) โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

5) โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี

2. ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

- เอสคิวแอล SQL

- MySQL (มายเอสคิวแอล)

- ภาษาHTML

- โปรแกรมภาษา PHP

- โปรแกรม Photoshop CS3

- อะโดบี ดรีมวีฟ เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML

- AppServ

วิธีดำเนินการ
ดำเนินการจัดทำโครงงานตามแนวทางการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ 6 ขั้นตอนดังนี้
              1) การเลือกหัวข้อโครงงาน
              2 การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
              3) การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
              4) การจัดทำโครงงานประกอบด้วย  ดังนี้
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา โดยระบุ
            - การระบุข้อมูลเข้า
           - การระบุข้อมูลออก
           - การประมวลผล
     การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
     การดำเนินการแก้ปัญหา
     การตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ
     การจัดทำคู่มือการใช้งาน
             5)    การเขียนรายงาน
             6)   การนำเสนอและแสดงผลงานของโครงงาน
ผลการดำเนินงาน
ระบบจัดการแผนงานออนไลน์สามารถแสดง Report รายงานข้อมูลจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละโครงการของฝ่ายงาน และยอดรวมจำนวนเงินของทุกฝ่ายงานออกมาเป็นช่วงเดือนหรือรายปีได้ ซี่งสามารถส่งออกเป็นไฟล์งาน Excel และสามารถประเมินผลการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์ได้ ซี่งสามารถส่งออกเป็นไฟล์งาน Word ได้เช่นกัน เพื่อที่จะสะดวกในการนำไปใช้งานต่อได้

สรุปผล
        กลุ่มงานนโยบายและแผนงานโรงเรียนสุราษฎร์พิทยาระบบแผนงานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์http://planonline.srp.ac.th/โดยระบบจะรับข้อมูลชื่อโครงการและรายละเอียดของกิจกรรมและสามารถเพิ่มรายการการเบิกจ่ายงบประมาณตรวจสอบยอดงบประมาณรวมของกิจกรรมในแต่ละโครงการและยอดงบประมาณที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแสดงยอดรวมจำนวนเงินของทุกฝ่ายงานและสามารถแสดงรายละเอียดการเบิกจ่ายในรูปของไฟล์งาน Excel ได้ โดยสามารถเลือกให้แสดงออกเป็นช่วงเดือนหรือรายปีได้และยังสามารถประเมินผลการดำเนินงาน และส่งออกไฟล์งานในรูปของไฟล์ Word ได้ เพื่อที่จะสะดวกในการนำไปใช้งานต่อ

อภิปรายผล
     ผลงานออกมาตรงตามแนวทางการปฏิบัติของโรงเรียน และรองรับการใช้ระบบผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลาย iPad, iPhone, Android
ข้อเสนอแนะ
    พัฒนาให้ใช้งานของโรงเรียนต่างๆ
เอกสารอ้างอิง
 โปรแกรม Dreamweaver 
 โปรแกรมภาษา PHP
 Appserv Open Project. 
 ภาษา HTML. 
Appserv Open Project
Photoshop. [online].
 FusionChart.

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์สร้างสรรค์ผลงาน

โครงงาน  " Why are you coming late " 

กลุ่มที่ 4

สมาชิกกลุ่ม

1.นายเตชินท์ เอกสุวีรพงษ์    เลขที่ 2   ห้อง 5/11
2.นางสาวกาญจณี กรีไกรนุช เลขที่ 24  ห้อง 5/11
3.นางสาวปนัดดา คงปาน      เลขที่ 25  ห้อง 5/11 

วิธีดำเนินการ

1. ช่วยกันวางแผนการทำงานกันในกลุ่ม
2. ช่วยกันศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
3. ช่วยกันทำแบบสอบถามสอบถามนักเรียน
4. ช่วยกันสรุปข้อมูลและเรียบเรียง
6. ช่วยกันจัดทำวีดีโอประกอบสื่อการเรียนการสอน
7. ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ผลการดำเนินการ 

1. ได้เรียนรู้การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas
2. ได้เรียนรู้การทำสื่อประกอบการสอน
3. ได้เรียนรู้การเขียนบทละครสั้นๆ 
4. ได้เรียนรู้การทำเว็บบล็อค
5. ได้ทราบถึงสาเหตุและปัญหาของการมาสายของนักเรียน
6. ได้ทราบวิธีแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสาย 
7. ได้ทราบเรื่องระเบียบวินัยต่างๆของโรงเรียนมากขึ้น

แหล่งเรียนรู้

1. สอบถามจากอาจารย์กิติมา เพชรทรัพย์ 
2. สอบถามจากเพื่อนๆชั้น5/11
3. สอบถามจากยามรักษาความปลอดภัยหน้าโรงเรียน 
4. ค้นจากยูทูปต่างๆ 
5. ค้นจากเว็บไซต์ต่างๆ

หลักฐานประกอบ






วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของ Output Device

         Moniter


Mono Chrome

                ในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโน โครมหรือ เอ็มดีเอ (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผลในโหมดกราฟิกก็ต้องเลือกโหมดการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียก ว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสีและกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย
เมื่อมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM compatible) ไอบีเอ็มจึงต้องกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้ ต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผลวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่าแผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) หรือ เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) บางครั้งเรียกว่าโมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA) การแสดงผลแบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันต่อเนื่องมาและมีผลิตขึ้นมาใช้ กันมากมาย
ต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเห็นว่าความต้องการทางด้านกราฟิกสูงขึ้น การแสดงสีควรจะมีรายละเอียดและจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพขึ้นอีกโดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การ เพิ่มเติมจำนวนสียังไม่พอเพียงกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์และโอเอสทูไอบีเอ็มจึงสร้างมาตรฐานการแสดงผลที่มี ความละเอียดและสีเพิ่มยิ่งขึ้นเรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)
จอภาพแบบซีอาร์ที


CRT

         การแสดงผลบนจอภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น มาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาของบริษัท ไอบีเอ็ม ในยุคต้นความต้องการของการแสดงผลส่วนใหญ่ยังเป็นแบบตัวอักษร โดยมีโหมดการทำงานแยกจากการแสดงกราฟิก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมากสามารถแสดงผลในโหมดกราฟิก เช่น ระบบปฏิบัติงานวินโดวส์ ต้องใช้โหมดการแสดงผลในรูปกราฟิกล้วน ๆ ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดช่องหน้าต่าง หรือการแสดงผลได้ตามที่ต้องการ จอภาพจึงเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานในยุคปัจจุบัน
สำหรับภายในหลอด CRT จะประกอบด้วย
         ปืนอิเล็กตรอน ซึ่งจะสร้างให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอน โดยจะมีปืน- อิเล็กตรอนนอยู่ทั้งหมดสามกระบอก ใช้สำหรับแม่สี ทั้งสาม (แดง, เขียว, น้ำเงิน) 2. Anodes จะเป็นตัวเร่งความเร็วของอิเล็คตรอนที่ถูกยิงออกมา 3. Deflecting Coils เป็นตัวที่จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอ่อนๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นตัวควบคุมทิศทางของอิเล็กตรอนที่ถูกยิงออกมา
          นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีตัวที่เรียกว่า slot mask หรือ shadow mask ซึ่งเป็น แผ่นโลหะที่มีรูจำนวนมาก รูเหล่านี้จะทำหน้าที่บังคับให้ลำแสงอิเล็กตรอน เรียงกันเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนกระทบกับจอภาพแล้ว จะเห็นจุดเล็กๆ เพียงจุดเดียวบนจอมอนิเตอร์ได้ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนกระทบกับสารที่เคลือบอยู่ที่ผิวของจอภาพ ซึ่งสารตัวนี้ จะเรืองแสงออกมาเมื่อถูกกระทบโดยอิเล็กตรอน ส่วนสีที่เห็นบนจอภาพนี้ ถูกกำหนดโดยความเข้มของลำแสงอิเล็กตรอนที่ยิงออกมา ซึ่งความเข้มนี้ ถูกกำหนดค่ามาเรียบร้อยแล้วโดย DAC
ลำแสงที่ถูกยิงออกมากระทบกับจอภาพ จะเริ่มตั้งแต่มุมขวาบน ไล่ไปทางซ้ายมือ เรื่อยๆ จนสุด แล้วก็เลื่อนมาที่บรรทัดใหม่ และยิงแสงไล่ไปมาแบบนี้จนทั่วจอภาพ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนนถูกยิงไปจนทั่วจอภาพแล้ว ก็จะเริ่มใหม่ที่มุมขวาบนอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว จอมอนิเตอร์ของะถูก redraw (ฉายลำแสงไปจนทั่วหน้าจอ และกลับไปเริ่มใหม่) หรือที่ศัพท์คอมฯ เรียกกันว่า refresh ประมาณ 60 รอบ ต่อวินาที เวลาที่มองภาพบนจอ ลำแสงอิเล็คตรอนก็จะถูกยิงออกมาเรื่อยๆ ตามแนวที่ สายตาของเราเคลื่อนที่
             ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ลำแสงอิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียว



              จอภาพ LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้เป็นแบบผลึกเหลว ซึ่งผลึกเหลว นี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว
การ ทำงานเมื่อตอนอยู่เฉยๆ ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา มันก็จะเกิดการจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนที่แสงผ่านไปเรียบร้อยแล้วก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลวเหมือนเดิม
สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค ,PDA และแทนที่มอนิเตอร์แบบ CRT ของเครื่องตั้งโต๊ะ
ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) กับ Thin Flim Transistor (TFT)

มอนิเตอร์ LCD แบบ DSTN
            LCD แบบ DSTN หรือ Dual-Scan Twisted Nematic นั้นเป็นจอ LCD แบบ Passive Matrix ซึ่งประกอบไปด้วยเลเยอร์หลายๆ ชั้น โดยชั้นแรก จะเป็นแผ่นแก้ว เคลือบด้วยเมทัลออกไซด์ ซึ่งสารที่ใช้จะมีลักษณะ โปร่งแสงมากๆ เพื่อที่จะไม่ไป ทำให้คุณภาพของภาพลดลง ในส่วนบนนั้นจะเป็นโพลิเมอร์ฉาบเป็นพื้นผิว เป็นร่องๆ เพื่อใช้ในการจัดเรียงโมเลกุล ของผลึกเหลวให้อยู่ในทิศทางที่ต้องการ ซึ่งเราเรียกมันว่า Alignment Layer ซึ่งจะมีสองชั้น อยู่คนละฟากของช่องว่าง หรือ Spacer ตรงขอบจะฉาบด้วย Epoxy แต่ว่าจะเว้นช่องว่างตรงมุมด้านซ้ายเอาไว้หน่อยนึง เพื่อที่จะเอาไว้ฉีด ผลึกเหลวเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นแก้ว (ซึ่งอยู่ในสภาวะสูญญากาศ) ก่อนที่ตัวมอนิเตอร์จะถูกฉาบด้วย Epoxy อย่างสมบูรณ์อีกทีหนึ่ง
             จากนั้นชั้นของ Polarising หรือ Polarising Layer ก็จะถูกเพิ่มลงไปในพื้นผิว ชั้นนอกสุดของแผ่นแก้ว แต่ละแผ่น เพื่อให้ตรงกับทิศทางของ Align Laye สำหรับ LCD แบบ DSTN นั้นทิศทางของ Alignment Layer จะมีค่าอยู่ในช่วง 90 - 270 องศา จากนั้น Backlight ก็จะถูกเพิ่มเข้าไป โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในรูป ของหลอด Cold-Cathode Fluorescent ติดไปตามขอบด้านบน และขอบด้านล่างของมอนิเตอร์ ซึ่งแสง จากหลอดไฟนี้จะถูกแจกจ่าย ไปตามหน้าจอด้วยปริซึม
ภาพที่ปรากฎบนจอมอนิเตอร์นั้นถูกสร้างมาจากแสงในขณะที่มันผ่านชั้นเล เยอร์ของจอภาพ จากรูปเมื่อไม่มี แรงดันไฟฟ้าจ่ายมาระหว่าง Glass Panel แสงจาก Backlight ก็จะถูกกั้นโดย Polarising Filter ให้ผ่านมาได้แต่เป็นแนวตั้งเท่านั้น และพอผ่าน Glass Panel มันก็จะถูกหักเห ให้กลายเป็นแนวนอน ซึ่งก็สามารถผ่าน Polarising Filter อีกครั้งซึ่งจะกั้นแสง และปล่อยให้ผ่านเฉพาะแสงตามแนวนอนเท่านั้น แต่ถ้าเราจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปให้กับ Glass Panel แสงก็จะถูกกั้นเอาไว้โดยสมบูรณ์สำหรับมอนิเตอร์ LCD แบบสีนั้น ก็จะมีการเพิ่มฟิลเตอร์สีแดง เขียว และน้ำเงินเข้ามา เพื่อสร้างพิกเซลที่เป็นสีด้วย
            จุดด้อยของจอ LCD แบบ Passive Matrix ก็คือมีการตอบสนองที่ช้ามาก ดังนั้นจึงมีปัญหา เวลาที่เราดูภาพยนตร์ หรือ เคลื่อนเมาส์เร็วๆ ทำให้เรามองภาพเป็นเบลอๆ ไป ทั้งนี้ก็เนื่องมา จากว่ามอนิเตอร์ไม่สามารถตามการเปลี่ยนแปลงของภาพได้ทันนั่นเอง นอกจากนี้ จุดด้อย อีกอย่างก็คือมุมมองของ LCD แบบ DSTN มีจำกัดกว่า LCD แบบ TFT

มอนิเตอร์ LCD แบบ TFT
                จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของ จอ LCD แบบ DSTN โดยจอแบบ TFT นี้จะเป็นแบบ Active Matrix ซึ่งจะเพิ่มเอาทรานซิสเตอร์เข้าไปเชื่อมต่อเข้ากับจอ LCD โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะแทนแต่ละสี (แดง เขียว น้ำเงิน) ผลที่ได้ก็คือ มีการตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น และมีความคมชัดขึ้น
             ตัวผลึกเหลวที่แทนแต่ละพิกเซลนั้นถูกจัดวางอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า "สภาวะปกติ" (ไม่มีแรงดันไฟฟ้าถูกจ่ายมาให้) แสงก็จะเข้าผ่านมาทาง Polarising Filter อย่างไม่ตรงทิศทาง ซึ่งผลที่ได้รับก็คือ แสงจะถูกกั้นเอาไว้จนหมด แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีการจ่ายแรงดันไฟฟ้ามาให้ด้วย แสงก็จะบิดเกลียวไปเรื่อยๆ จนถึง 90 องศา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้า ที่จ่ายมาให้ ซึ่งจะทำให้แสงผ่านมาได้มากขึ้น ทรานซิสเตอร์จะคอยควบคุมมุมองศาของการบิดเกลียวของแสง และความเข้มของสีแดง เขียว และน้ำเงินของแต่ละพิกเซล มอนิเตอร์แบบ TFT นั้นสามารถที่จะทำให้บางกว่ามอนิเตอร์แบบ LCD ปกติได้ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียงกับมอนิเตอร์ แบบ CRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN

เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
1.ในแง่ของพื้นที่ในการแสดงผล
         มอนิเตอร์แบบ LCD ดีกว่าเพราะว่ามอนิเตอร์ LCD ขนาด 15 นิ้วนั้นสามารถให้พื้นที่ให้การมองได้เกือบๆ จะเท่ากับมอนิเตอร์แบบ CRT ขนาด 17 นิ้วทีเดียว
2.ในแง่ของมุมมอง และความสว่าง
         มอนิเตอร์แบบ CRT นั้นมีมุมมองกว้างถึง มากกว่า 190 องศา ในขณะที่มอนิเตอร์แบบ LCD ชนิด TFT และ DSTN นั้นมีแค่ 140 องศา และ 49-100 องศา ตามลำดับเท่านั้นเอง ด้านความสว่างของภาพนั้น มอนิเตอร์แบบ CRT ก็มากกว่า
3.ในแง่ของอัตราการรีเฟรชของภาพ
        มอนิเตอร์แบบ LCD ชนิด DSTN มีอัตราการรีเฟรชด้อยมาก ส่วนมอนิเตอร์แบบ LCD ชนิด TFT นั้นในปัจจุบันก็มีอัตราการรีเฟรชของภาพ ใกล้เคียงกับมอนิเตอร์แบบ CRT
4.ในแง่ของการใช้พลังงาน
         ลองเปรียบเทียบกันระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD ขนาด 13.5 นิ้ว ซึ่งมีพื้นที่เทียบเท่ากับมอนิเตอร์แบบ CRT ขนาด 15 นิ้ว กับ มอนิเตอร์แบบ CRT ขนาด 15 นิ้วแล้ว การใช้พลังงานของมอนิเตอร์แบบ LCD ชนิด DSTN นั้นใช้พลังงานแค่ 45วัตต์เท่านั้น ส่วนมอนิเตอร์แบบ LCD ชนิด TFT ก็สิ้นเปลืองพลังงานแค่ 50 วัตต์ ในขณะที่มอนิเตอร์แบบ CRT นั้นซัดเข้าไป 80 วัตต์ทีเดียว
5.ในแง่ของการแผ่รังสี
         มอนิเตอร์แบบ LCD นั้นดีมากเพราะว่าการแผ่รังสีเป็นศูนย์
6.ในแง่ของพื้นที่ในการติดตั้ง
          มอนิเตอร์แบบ LCD นั้นมีขนาดที่บาง กะทัดรัด กินเนื้อที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบอื่น
7.ในแง่ของอายุการใช้งาน
           อายุการใช้งานของมอนิเตอร์แบบ LCD ทั้งสองชนิดอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นชั่วโมงโดยเฉลี่ย หรือประมาณ 2,500 วัน หรือ 6.85 ปีทีเดียว ส่วนมอนิเตอร์แบบ CRT นั้น อายุโดยเฉลี่ยก็อยู่ที่ 6-8 ปี

1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)


Printer

             เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่ สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น               เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดาษประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ
คุ             ณภาพ ของงานพิมพ์เอกสารโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งขึ้นกับ ประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วพิมพ์ลงบน กระดาษตามที่ต้องการ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายแบบ หลายยี่ห้อ เครื่องพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้งานสูงชนิดหนึ่งคือเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป


2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)


               เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมากๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็กๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ

เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)


          เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็น เครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่ว ไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกราดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร

4. พล็อตเตอร์ (plotter)


              พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
             พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ

1. โปรเจกเตอร์แบบ LCD แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1.1 แบบ Single LCD


            เป็นระบบที่ใช้กันมานานแล้ว หลักการทำงานก็คือ ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีความสว่างส่องผ่านฟิลเตอร์ LCD ทั้งที่เป็นแบบ Passive หรือ Active TFT จำนวน 1 จอภาพซึ่งแสดงสัญญาณที่ได้รับจากแหล่งกำเนิดไม่ว่าจะเป็นสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์ หรือวิดีโอ จากนั้นก็ให้ส่องผ่านไปยังเลนส์ขยายไปยังจอภาพ (หลักการทำงานจะคล้ายกับ LCD panel เพียงแต่ภาพที่ได้จะชัดเจนกว่า)
         ข้อดีของระบบนี้คงเป็นเรื่องของราคาที่ค่อนข้างถูกที่สุดในกลุ่ม แต่ก็ยังพบปัญหาเรื่องของแสงที่ดรอปลงไปจากการปิดกั้นของ LCD ค่อนข้างมาก และก็ยังมีปัญหาเรื่องของความร้อนสะสมอยู่บ้าง แต่หลายรุ่นก็ได้พัฒนาระบบระบายความร้อนจนสามารถใช้ได้ทนและนานขึ้น

1.2 แบบ Poly Si


               เป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบ LCD ซึ่งมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าแบบแรกกล่าวคือ แต่เดิมที่เคยใช้ฟิลเตอร์ LCD เพียงชุดเดียวแสดงสีครบทั้งหมดก็เกิดปัญหาเรื่องของแสงดรอปมากดังนั้นวิธี นี้ จึงแยกฟิลเตอร์ LCD ที่อาจเป็น Active หรือ Passive TFT ออกเป็น 3 ชุด แต่ละชุดก็จะแปลงสัญญาณสี 3 สี แยกแต่ละสีคือ แดง เขียว และน้ำงิน แสงจากหลอดไฟจะส่องผ่านไปยังกระจกสะท้อนกลับมารวมเป็นภาพที่มีสีสันสวยงาม ครบถ้วน และส่งผ่านเลนส์และส่งไปยังจอภาพ
              ข้อดีของระบบนี้คือ แสงที่ส่งออกมาจากหลอดไฟจะถูกดรอปลงน้อยกว่าระบบแรก (แต่ก็ยังถูกดรอปลงไปบ้าง) ทำให้ภาพที่ออกมามีความสว่างและคมชัดมากกว่า และเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเดิมที่มาปรับใช้ให้ดีขึ้น ผู้ผลิตแต่ละรายจึงเพิ่มเติมลูกเล่นและความสามารถอื่นๆลงไปได้อีก


2. โปรเจกเตแร์แบบ DLP


             DLP : Digital Light Processing เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโปรเจกเตอร์ในปัจจุบัน เกิดจากการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์พิเศษจากบริษัท TI หรือ Texas Instrument ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก โดยได้พัฒนาระบบชิพพิเศษที่ใช้สำหรับโปรเจกเตอร์โดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า DMD : Digital Micro-Mirror Device ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่มหัศจรรย์มาก
             หลักการทำงานของระบบนี้คือ การใช้ชิพขนาดเล็กที่ภายในมีส่วนประกอบเป็นกระจกขนาดเล็กมากจำนวนมาก มายมหาศาล (480,000 ชิ้นสำหรับความละเอียด 800 * 600 พิกเซล) ความกว้างประมาณ 7 ไมครอน ช่องว่างประมาณ 1 ไมครอน ซึ่งกระจกแต่ละชิ้นก็คือแทนแต่ละพิกเซลที่เป็นส่วนประกอบของภาพที่ส่งออกไป โดยมีความพิเศษตรงที่จะมีมอเตอร์ขนาดเล็กประจำอยู่ที่กระจกแต่ละชิ้น และเมื่อได้รับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ ชิพตัวนี้จะสั่งให้กระจกขยับบิดเอียงเป็นมุมเปิดและปิดแยกกันแต่ละตัวโดย อิสระ
ในขณะเดียวกัน ในระบบก็จะมีหลอดไฟที่มีความสว่างสูง ส่องแสงผ่านฟิลเตอร์ทรงกลมที่มีสี 3 สี ได้แก่ เขียว แดง และน้ำเงิน ซึ่งฟิลเตอร์ทรงกลมนี้จะหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อสลับแสงทั้งสามสีไปยังชิพ DMD ที่กำลังทำงานอยู่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อแสงแต่ละสีจะส่งมาแล้ว ชิพก็จะสั่งว่าให้กระจกแต่ละชิ้นบิดมุมเพื่อเปิดหรือปิดรับแสงสีอะไร จากนั้นแสงที่สะท้อนออกมาจากกระจก (800 * 600 ชิ้น) ก็จะถูกรวมเป็นภาพเพื่อส่งผ่านเลนส์ไปยังจอภาพ 
อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vblog/33318/2